ไส้เลื่อนเป็นอีกปัญหากวนใจที่ พบบ่อยในนักกีฬาหรือผู้ที่มี การออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ โดยไส้เลื่อนนักกีฬาจะมีความคล้ ายคลึงกับไส้เลื่อนขาหนีบ แต่มีวิธีการรั กษาและอาการบาดเจ็บที่แตกต่างกั น ฉะนั้นแล้วการรู้เท่าทันเพื่อที่ จะสามารถรับมือได้อย่างถูกต้ องเป็นอีกเรื่องที่ไม่ควรละเลย
นายแพทย์ชนินทร์ ปั้นดี ศัลยแพทย์ด้านการผ่าตัดผ่านกล้ อง ศูนย์ศัลยกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า โรคไส้เลื่อนนักกีฬา ( Sports Hernia) หรือไส้เลื่อนฮ็อกกี้ มีอาการคล้ายไส้เลื่อนแต่ไม่มี การเลื่อนของลำไส้ออกนอกช่องท้ อง สามารถพบได้มากในกลุ่มนักกีฬาที่ มีการวิ่งเปลี่ยนทิศทางอย่ างรวดเร็ว หรือมีการเคลื่อนไหวบิดหมุนบริ เวณข้อต่อสะโพกอย่างรุนแรง เช่น ฟุตบอล วอลเลย์บอล วิ่ง กระโดดสูง เบสบอล ฟันดาบ ฮ็อกกี้น้ำแข็ง มวยปล้ำ เป็นต้น ที่จะส่งผลให้เกิดอาการเจ็บบริ เวณกล้ามเนื้อขาหนีบ ( Adductor) ช่องท้องส่วนล่างของนักกีฬา พบได้บ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิ ง สาเหตุของโรคไส้เลื่อนนักกี ฬาเกิดจากความอ่อนแอของกล้ามเนื้ อในช่องท้องส่วนล่างบริเวณขาหนี บและข้อต่อสะโพกที่มีการใช้ งานหนัก หรือความไม่สมดุลของกล้ามเนื้ อขาหนีบที่มีแรงตึงมากกว่ากล้ ามเนื้อหน้าท้องด้านล่าง ทำให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้ อและการฉีกขาดของเส้นประสาทบริ เวณขาหนีบ
ลักษณะอาการไส้เลื่อนนักกีฬา จะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป มีอาการสัมพันธ์กับการเคลื่ อนไหวโดยไม่มีการเลื่อนของลำไส้ โดยมีอาการปวดหรือเจ็บแบบเสี ยดๆท้องน้อยส่วนล่าง ขาหนีบ อัณฑะ ต้นขา อาจมีอาการขณะจามแรง ๆ ออกกำลังกายหรือซิทอัพ ส่วนไส้เลื่อนขาหนีบจะมี อาการปวดจุกขาหนีบที่มีความสั มพันธ์กับก้อนขาหนีบ รู้สึกมีก้อนเข้าออกได้บริ เวณขาหนีบ มักมีอาการขณะลุกขึ้นหลั งจากนอนหรือนั่ง ขณะไอ จาม หรือเบ่งอุจจาระ อาการจะเป็นๆ หายๆ เนื่องจากอาการที่คล้ายกันและทั บซ้อนกับโรคอื่นๆเช่น Osteitis Pubis การบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังส่ วนเอว ข้อต่อสะโพก ช่องท้อง และระบบทางเดินปัสสาวะ การตรวจวินิจฉัยจะต้องซักประวั ติอาการของผู้ป่วยทางคลินิก การตรวจร่างกายร่วมกับการตรวจ MRI เพื่อตรวจแยกรอยโรคที่ต่างกัน นอกจากนี้นักกีฬาหลายคนอาจมีกล้ ามเนื้อขาหนีบอ่อนแรงหรือเกิ ดการฉีกขาด อาจส่งผลให้ Sports Hernia พัฒนาเป็นไส้เลื่อนในช่องท้ องได้หากกล้ามเนื้อผนังหน้าท้ องอ่อนแอลงอีก
ขั้นตอนการรักษาสามารถรั กษาแบบประคับประคองด้วยการพั กการใช้งานของกล้ามเนื้อบริ เวณขาหนีบหรือหยุดกิจกรรม ประคบเย็น กระตุ้นด้วยไฟฟ้า ทานยาแก้ปวดลดบวม ฉีดยา กายภาพบำบัด เสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณอุ้ งเชิงกรานโดยการบริหารกล้ามเนื้ อขาหนีบให้แข็งแรง การฝึก Hip Adduction หรือการนอนในท่าคว่ำโดยให้ งอสะโพกด้านที่มีอาการและหมุ นออกด้าน หากทำการรักษาแบบประคั บประคองแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นใน 6 – 8 สัปดาห์ โดยเฉพาะในนักกีฬาอาชีพ การผ่าตัดแบบเปิดหรือการผ่าตั ดผ่านกล้องแผลเล็ก ( Herniorharrphy) ด้วยการเสริมความแข็งแรงของผนั งช่องท้องโดยการเสริมตาข่าย Mesh Repair แผ่นสารสังเคราะห์เพื่อฟื้นฟู ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อผนั งหน้าท้อง หรืออาจร่วมกับการซ่อมแซมกล้ ามเนื้อขาหนีบที่มีปัญหาในกรณี ที่มีสาเหตุจากความไม่สมดุ ลของกล้ามเนื้อขาหนีบ หลังผ่าตัดจะมีอาการตึงแผลบริ เวณขาหนีบเล็กน้อย ต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 1 – 2 วัน หลังผ่าตัดต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้ มีแรงดันในช่องท้องสูงในช่วง 4 – 6 สัปดาห์แรก เช่น ห้ามยกของหนักหรือออกกำลังกายหั กโหม หลีกเลี่ยงการเบ่งอุจจาระหรือปั สสาวะ และหลีกเลี่ยงการบิดและหมุนลำตั วอย่างกะทันหัน
โรคไส้เลื่อนนักกีฬาเป็นอาการที่ ไม่สามารถชะล่าใจได้ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้อั กเสบเรื้อรังจนรุนแรง ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่ างกาย หากมีอาการควรพบแพทย์เพื่ อทำการรักษาให้ถูกต้องทันที สอบถามหรือปรึกษารายละเอียดเพิ่ มเติมได้ ที่ ศูนย์ศัลยกรรม รพ.กรุงเทพ โทร. 0 2310 3000 โทร 1719 หรือ แอดไลน์ @bangkokhospital