
นายวีระชัย เข็มวงษ์ เกษตรจังหวัดพิจิตร พร้อมด้วย นายภานุวัฒน์ ทิพย์ตา เกษตรอำเภอบึงนาราง ลงพื้นที่ แปลงปลูกแตงโมในโรงเรือนที่อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร แปลงของนายศราวุฒิ รัตนพันธ์ วิศวกรสาขาเครื่องกล ผันตัวมาทำการเกษตร
อ่านต่อ คลิ๊กนายวีระชัย เข็มวงษ์ เกษตรจังหวัดพิจิตร พร้อมด้วย นายภานุวัฒน์ ทิพย์ตา เกษตรอำเภอบึงนาราง ลงพื้นที่ แปลงปลูกแตงโมในโรงเรือนที่อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร แปลงของนายศราวุฒิ รัตนพันธ์ วิศวกรสาขาเครื่องกล ผันตัวมาทำการเกษตร
อ่านต่อ คลิ๊กปลูกไม้ผลในโรงเรือน มีโรงเรือน จำนวน 7 โรงเรือน ขนาดของโรงเรือน 6 x 16 เมตร โดยจะสับเปลี่ยนหมุนเวียนปลูกไม้ผลและพืชผักใน 7 โรงเรือน ซึ่งปกติแล้วจะปลูกเมล่อน และมะเขือเทศราชินี ต่อมาได้ลองมาทดลองปลูกแตงโมในโรงเรือน เนื่องจากเป็นพืชตระกูลเดียวกับเมล่อน และตลาดมีความนิยม จึงได้ทดลองปลูกจำนวน 1 โรงเรือน ผลปรากฏว่าได้ผลผลิตดี ตลาดให้ความสนใจเนื่องจากปลูกในโรงเรือนลดการใช้สารเคมีกำจัดแมลง โดยเน้นขายความแปลกใหม่ เน้นคุณภาพ และความปลอดภัย ราคาพอประมาณ เหมาะสำหรับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการดูแลสุขภาพ รวมถึงเรื่องการจัดการ ความสะอาด ภายในโรงเรือน ซึ่งแปลงนี้ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP การเกษตรที่ดีและเหมาะสม จึงเป็นการการันตีถึงความปลอดภัยของสินค้าเกษตร
สำหรับโรงเรือนที่ปลูกแตงโมจะปลูกแตงโมได้ประมาณ 160 ต้น โดยใช้สายพันธ์ช้างแสดเนื้อสีส้ม เนื้อแน่นกรอบ หอม หวาน น้ำหนักประมาณ 3 – 4 กิโลกรัมต่อผล ผลผลิตเฉลี่ย 400 – 500 กิโลกรัม ต่อโรงเรือน ราคาขายกิโลกรัมละ 45 บาท หรือประมาณ 135 – 180 บาทต่อผล หรือประมาณ 18,000 – 22,500 บาท มีต้นทุนการผลิต (ค่าปุ๋ย ค่าเมล็ดพันธุ์ และอื่น ๆ)ไม่รวมโรงเรือนประมาณ 5,000 บาท ในด้านการตลาดจำหน่ายในกลุ่มลูกค้าตลาดออนไลน์ และกลุ่มตลาดเฉพาะ เนื่องจากมีลูกค้าประจำที่สั่งซื้อผลผลิต เมล่อน และมะเขือเทศราชินี จะมีการนำเสนอและถ่ายรูปลงเฟสบุคของฟาร์ม ชื่อ N &N ฟาร์ม สิ่งที่ทำให้ฟาร์มแห่งนี้สามารถจำหน่ายผลผลิตได้ในราคาค่อนข้างสูงเนื่องจาก เน้นเรื่องของคุณภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลัก หรือการทำการเกษตรแบบประณีต ในช่วงที่ผ่านมาแม้จะมีผลผลิตทางการเกษตรจะได้รับผลกระทบโควิด แต่ทางสวนไม่ได้รับผลกระทบใด เนื่องจากมีตลาดออนไลน์และมีผลผลิตที่หลากหลาย คือ มะเขือเทศราชินี และเมล่อน ทำให้มีผลผลิตที่หลากหลายหมุนเวียนมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภค
ทางด้านนายวีระชัย เข็มวงษ์ เกษตรจังหวัดพิจิตร กล่าวเพิ่มเติมว่า นับว่าเกษตรกรรายนี้เป็นตัวอย่างให้กับเกษตรกรอื่น ๆที่ทดลองปลูกพืชใหม่ๆ เน้นการปลูกแบบปลอดภัย ซึ่งแปลงนี้มีการการันตีความปลอดภัยด้วยมาตรฐาน GAP คือการทำการเกษตรที่ดีและเหมาะสม ทำให้ผู้บริโภคสามารถมั่นใจในสินค้าของเกษตรกร รวมถึงมีการปรับตัวในการจำหน่ายสินค้าเกษตรออนไลน์ทำให้เข้าถึงผู้ซื้อสินค้าในตลาดออนไลน์ได้เป็นอย่างดี